วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิธีการซิงค์บุ๊คมาร์คของ Google Chrome

วิธีการซิงค์บุ๊คมาร์คของ Google Chrome
บุ๊คมาร์ค (Bookmark) นั้นเป็นตัวช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องจำชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันนั้นผู้ใช้ส่วนใหญ่จะใช้งานโปรแกรมเว็บบราวเซอร์มากกว่า หนึ่งตัว และมีบางคนมีการใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่องเช่นใช้งานคอมพิวเตอร์ ในที่ทำงานและมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผ่านเป็นต้น ซึ่งปกติจะทำการชิงค์บุ๊คมาร์คโดยการส่งออก (Export) จากเว็บบราวเซอร์ตัวหนึ่งและนำเข้า (Import) บนเว็บบราวเซอร์ตัวหนึ่ง หรือทำการส่งออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งและนำเข้าบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกเครื่องหนึ่ง แต่สำหรับผู้ใช้ Google Chrome สามารถทำการซิงค์บุ๊คมาร์คผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้คุณสมบัติ Bookmark Sync

คุณสมบัติ Bookmark Sync จะทำการซิงค์บุ๊คมาร์คขึ้นไปเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของ Google Docs จากนั้นผู้ใช้สามารถซิงค์บุ๊คมาร์คของ Google Chrome ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องหรือมากกว่าผ่านทางอินเทอร์เน็ตผ่านทาง แอคเคาท์ของกูเกิล โดยกูเกิลเริ่มนำคุณสมบัติ Bookmark Sync มาใช้เป็นครั้งแรกใน Google Chrome 4.0.201.1 Dev channel และเปิดใช้งานโดยดีฟอลท์ใน Google Chrome 4.0.223.16 Beta และในเวอร์ชัน Google Chrome 5.0.375.29 Beta ได้เพิ่มการซิงค์การตั้งค่า (Preference) หลังจากนั้นได้มีการเพิ่มการซิงค์ การป้อนค่าแบบฟอร์มโดยอัตโนมัติ (AutoFill), ส่วนขยาย (Extensions) และ ธีม (Themes) และใน Google Chrome 7.0.517.41 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสเถียรตัวล่าสุดนั้นกูเกิลได้เพิ่มอ็อปชันการซิงค์แอ็พ (Apps) ขึ้นอีกหนึ่งอย่าง

อนึ่ง เหตุผลที่ Bookmark Sync ทำการซิงค์บุ๊คมาร์คขึ้นไปเก็บไว้ใน Google Docs แทนที่จะเก็บอยู่ใน Google Bookmarks เนื่องจาก Bookmark Sync นั้นใช้การแสดงผลในแบบโฟลเดอร์

สำหรับวิธีการใช้งาน Sync นั้นทำได้โดยการคลิกไอคอนรูปเครื่องมือจากนั้นเลือก Options

รูปที่ 1. Options

แล้วในหน้า Google Chrome Options ให้คลิกแท็บ Personal Stuff แล้วคลิก Set up sync

รูปที่ 2. Set up sync

จากนั้นทำการไซน์อินด้วยแอคเคาท์ของกูเกิล

รูปที่ 3. Sign in to Google

เสร็จแล้วจะได้หน้าไดอะล็อกบ็อกซ์ Set up sync ซึ่งค่าเริ่มต้นจะเลือกเป็น "Keep everything synced" หากต้องการเลือกบางหัวข้อให้เลือกเป็น "Choose what to sync" จากนั้นเลือกอ็อปชันที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก OK ทำการซิงค์ bookmarks ไปเก็บไว้ใน Google Docs

รูปที่ 4. Configure sync

โดยเมนู Set up sync จะเปลี่ยนเป็น "Stop syncing this account" และจะมีปุ่ม "Customize" สำหรับใช้ปรับแต่งอ็อปชันที่ทำการซิงค์

รูปที่ 5. Stop syncing this account and Customize

ผลการซิงค์
หลังจากทำการซิงค์บุ๊คมาร์คเสร็จแล้ว ในการเปิดโปรแกรม Google Chrome ครั้งต่อไปโปรแกรมก็จะทำการซิงค์ข้อมูลโดยอัตโนมัติ โดยหลังจากทำการซิงค์บุ๊คมาร์คก็จะทำการอัปเดทเป็นข้อมูลล่าสุด ตัวอย่างเช่น รูปที่ 5 จะเป็นบุ๊คมาร์คบนเครื่อง PC1 ก่อนทำการซิงค์ส่วนรูปที่ 6 เป็นรูปบุ๊คมาร์คบนเครื่อง PC1 หลังทำการซิงค์


รูปที่ 6. Bookmark Manager

รูปที่ 7. Bookmark Manager

และเมื่อเปิด Google Docs จะปรากฏข้อมูลบุ๊คมาร์คอยู่ปรากฏในส่วน My folders ดังรูปที่ 7 ในกรณีต้องการทำการซิงค์บุ๊คมาร์คบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เพิ่มเติม ทำได้โดยขั้นตอนด้านบน

รูปที่ 8. Bookmark on Google Docs

สำหรับเวอร์ชันสเถียรตัวปัจจุบันของ Google Chrome คือ Google Chrome 7.0.517.41 ซึ่งมีการปรับปรุงการทำงาน แก้ไขปัญหาความปลอดภัย และมีคุณสมบัติใหม่หลายอย่าง อ่านรายละเอียดได้ที่ สำรวจคุณสมบัติใหม่ใน Google Chrome 7.0.517.41

Kunagron_MIS

การติดตั้ง Windows 7 Ultimate Edition (RTM)_aek

การติดตั้ง Windows 7 Ultimate Edition (RTM)
ผมมีโอกาสทดลองติดตั้ง Windows 7 Ultimate (RTM) จึงนำภาพหน้าจอการขั้นตอนการติดตั้งมาฝากครับ ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งจะคล้ายกันกับการติดตั้ง Windows 7 Professional Installation และ Windows 7 Home Premium Installation และ Windows 7 Home Basic ซึ่งผมได้เคยโพสต์ไปก่อนหน้านี้

ในการทดลองครั้งนี้ เป็นการติดตั้งเวอร์ชัน Windows 7 Ultimate 32-bit บนเครื่องเวอร์ชวลคอมพิวเตอร์ที่รันบน Windows Server 2008 Hyper-V โดยผมคอนฟิกเวอร์ชวลแมชชีนให้ใช้ RAM 2GB เวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ขนาด 32 GB

หมายเหตุ: เครื่องเซิร์ฟเวอร์ใช้ Windows Server 2008 SE with SP2 (64-bit) ฮาร์ดแวร์เป็น IBM x3650 ใช้ซีพียู Intel E5540 2.83GHz, RAM 8GB, Hard Disk 3x146 GB

ขั้นตอนการติดตั้ง Windows 7 Ultimate
การติดตั้ง Windows 7 Ultimate มีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยแผ่นดีวีดี Windows Setup จะได้หน้าจอ Windows is loading files และ Starting Windows ดังรูปที่ 1 ให้รอจนระบบทำงานแล้วเสร็จ

Windows 7 RC
รูปที่ 1 Starting Windows

2. ในหน้าต่าง Install Windows ให้เลือกภาษาที่ต้องการ และตั้งค่าอื่นๆ ตามความต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป
ในที่นี้เลือก:
Language to install: English
Time and currency format: English (United States)
Keyboard or input method: US


รูปที่ 2 Install Windows

3. ในหน้าต่างถัดไปให้คลิก Install Now เพื่อทำเริ่มการติดตั้ง Windows 7


รูปที่ 3 Install Now

4. ในหน้า Select the operating system you want to install ให้เลือก Windows 7 Home Basic เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 4 Windows 7 Ultimate

5. ในหน้าต่าง Please read the license terms ให้อ่าน License Terms เสร็จแล้ว ให้คลิกเช็คบ็อกซ์ I accept the license terms จากนั้นคลิก Next เพื่อไปยังหน้าถัดไป


รูปที่ 5 License Terms

6. ในหน้าต่าง Which type of installation do you want? ให้เลือกเป็น Custom (Advanced)


รูปที่ 5 Custom (Advanced) installation

7. ในหน้าต่าง Where do you want to install Windows? ให้เลือก Hard Disk หรือ Partition ที่ต้องการติดตั้ง เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 7 Select Hard Disk/Partition

หมายเหตุ: ในกรณีที่ใน Hard Disk หรือ Partition ที่เลือก มีการติดตั้งวินโดวส์เวอร์ชันอื่นอยู่ ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือน ให้คลิก OK เพื่อยืนยันการติดตั้ง Windows 7

8. ระบบจะเริ่มทำการติดตั้ง Windows โดยจะดำเนินการต่างๆ ดังนี้ คือ Copying Windows files, Expanding Windows files, Installing features และ Installing updates หลังจากทำการติดตั้งขั้นตอน Installing updates

หลังจากทำการติดตั้งขั้นตอน Installing updates แล้วเสร็จ จะทำการรีสตาร์ทระบบ 1 ครั้ง หลังจากรีสตาร์ทเสร็จจะทำขั้นตอน Completing Installation ต่อ หลังจากทำขั้นตอน Completing Installation แล้วเสร็จ จะทำการรีสตาร์ทระบบอีก 1 ครั้ง


รูปที่ 8 Installing Windows

9. หลังจากรีสตาร์ทก็จะทำการเตรียมระบบดังรูปที่ 9 เสร็จแล้วจะแสดงหน้าต่าง Set Up Windows ดังรูปที่ 10 เพื่อให้เลือก User name และตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์


รูปที่ 9

ในหน้าต่าง Set Up Windows ให้พิมพ์ User name ที่ต้องการในกล่องใต้ Type a user name: จากนั้นใส่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการในกล่องใต้ Type a computer name: เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 10 Set Up Windows

10. ในหน้าต่าง Set a password for your account ระบบจะให้กำหนดรหัสผ่านสำหรับ User name ที่สร้างในขั้นตอนที่ 8 ใส่รหัสผ่านที่ต้องการ 2 ครั้ง ในกล่องใต้ Type a password (recommended): และ Retype your password: จากนั้นพิมพ์ข้อมูลช่วยจำรหัสผ่านในช่อง Type a password hint: เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 11 Set a password for your account

หมายเหตุ:
กำหนดรหัสผ่านในขั้นตอนที่ 10 เป็นอ็อปชัน นั้นคือ ไม่จำเป็นต้องกำหนดรหัสผ่านก็ได้ แต่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ ผมขอแนะนำให้กำหนดรหัสผ่าน และในกรณีที่กำหนดรหัสผ่านจะต้องกำหนดข้อมูลช่วยจำรหัสผ่านด้วย ระบบจึงจะยอมให้ดำเนินการในขั้นตอนถัดไป

11. ในหน้า Type your Windows product key ให้ใส่หมายเลขโปรดักส์คีย์ (ขั้นตอนนี้เป็นอ็อปชันไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้) เสร็จแล้วคลิก Next

หมายเหตุ: หมายเลขโปรดักส์คีย์นั้น ไมโครซอฟท์จะให้มาพร้อมกับการดาวน์โหลดสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก Technet และ MSDN สำหรับลูกค้าทั่วไปนั้นจะมาพร้อมกับแพ็กเกจที่ซื้อ


รูปที่ 12 Type your Windows product key

Tip: ผมแนะนำให้เคลียร์เช็คบ็อกซ์ Automatically activate Windows when I'm online แล้วค่อยทำการแอคติเวตแบบแมนนวลภายหลัง

12. ในหน้าต่าง Help protect your computer and improve Windows automatically ให้เลือก Use recommended settings หรือ Install inportant updates only หรือ Ask me later ในที่นี้เลือกหัวข้อหลังสุด


รูปที่ 13 Help protect your computer and improve Windows automatically

13. ในหน้าต่าง Review your time and date settings ให้ทำการตั้ง Time Zone ให้ตรงพื้นที่ใช้งาน และตั้ง Date และ Time ให้ตรงกับวัน-เวลาจริง เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 12 Review your time and date setting

หมายเหตุ: Time Zone ของประเทศไทยเป็น UTC+07.00 หรือ GMT+07:00 ในวินโดวส์เวอร์ชันก่อนหน้า

14. ในหน้าต่าง Select your computer's current location ให้เลือกเป็น Home network หรือ Work network หรือ Public network ในที่นี้เลือก Home network


รูปที่ 15 Select your computer's current location

หมายเหตุ: ขั้นตอนนี้จะมีเฉพาะในกรณีติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก

15. วินโดวส์จะทำการจัดเตรียมระบบตามการตั้งค่าต่างๆ ที่กำหนดในขั้นตอนด้านบน เมื่อเสร็จแล้วก็จะได้หน้า Desktop ดังรูปด้านล่าง

Windows 7 Desktop
รูปที่ 16 Windows 7 Ultimate (RTM) Desktop

• หมายเลขเวอร์ชันของ Windows 7 Ultimate
หลังจากทำการติดตั้ง Windows 7 Ultimate (RTM) เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถดูหมายเลขเวอร์ชันได้โดยการรันคำสั่ง winver (คลิก Start พิมพ์ winver ในช่อง Search programs and files เสร็จแล้วกด Enter) ซึ่งเวอร์ชันของ Windows 7 Ultimate (RTM) มีหมายเลขเวอร์ชันเป็น 6.1 (Build 7600)

หมายเหตุ: ถ้าหากรันคำสั่ง ver ที่คอมมานด์พร็อมท์หมายเลขเวอร์ชันคือ 6.1.7600

Windows 7 Ultimate Version Number
รูปที่ 17 Windows 7 Ultimate Version Number

• Windows 7 Ultimate Log on Screen
เมื่อทำการสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows 7 Ultimate จะได้หน้า Log on Screen ดังรูปด้านล่าง

Log on Screen
รูปที่ 18 Log on Screen

บทความโดย Kunagron_MIS