วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1 การติดตั้งและแนะนำโปรแกรม SQL Server

บทที่1

การติดตั้งโปรแกรมและแนะนำ SQL Server



ก่อนที่จะติดตั้ง SQL Server นั้นจะต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่มีอยู่บนเครื่องให้พอกับความต้องการอย่างต่ำของ SQL Server เสียก่อน เช่น ขนาดหน่วยความจำของเครื่อง เนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น รวมทั้งชนิดของ OS หรือ เวอร์ชั่นของ Internet Explorer สำหรับแผ่นซีดีที่ใช้ติดตั้ง SQL Server นั้นสามารถนำไปติดตั้งได้ทั้งเครื่องที่จะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ก็ให้เลือก ออปชั่น Server Components ได้ (Server Components คือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานหลัก ๆ ของ SQL Server รายละเอียดของคอมโพเนนต์ต่าง ๆ จะได้กล่าวต่อไป)

ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ SQL Server


เพื่อให้การติดตั้งระบบฐานข้อมูล SQL Server เป็นไปอย่างราบรื่นและสมบูรณ์ที่สุด ระบบฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ควรจะมีประสิทธิภาพ ความคงทน และความเร็วในการทำงาน เพราะจะต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการเน็ตเวิร์ก ดังนี้
ซีพียู Intel (Pentium 166 MHz เป็นอย่างต่ำ, Pentium Pro หรือ Pentium I/III
XEON)
หน่วยความจำ 64 เมกกะไบต์ อย่างต่ำ
ฮาร์ดดิสก์ ความจุอย่างต่ำ 1 กิ๊กกะไบต์ และมีพื้นที่ว่างหลังจากการติดตั้งโปรแกรม
แล้วประมาณ 300 เมกกะไบต์เป็นอย่างต่ำ
ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 95/98
Microsoft Windows NT Workstation 4.0
Microsoft 2000 Advanced Server
Microsoft Windows NT Server 4.0

ระบบไฟล์ ควรจะเป็น NTFS สำหรับ Windows NT Server
FAT สำหรับ Windows 95/98
ซีดีรอมไดร์ฟ ความเร็วอย่างต่ำ 12 X
เน็ตเวิร์กโปรโตคอล TCP/IP, Name Pipes

การติดตั้ง SQL Server

การติดตั้ง SQL Server มีทางเลือกให้ทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ

  • Local Installation คือ ติดตั้งลงในเครื่องที่กำลังใช้อยู่
  • Remote Installation คือ ติดตั้งลงบนเครื่องอื่นที่อยู่ในเน็ตเวิร์กเดียวกัน
  • Unattended Installation คือ ติดตั้งโดยที่ไม่ต้องป้อนรายละเอียดในขณะที่ติดตั้ง แต่ใส่รายละเอียดเหล่านั้นไว้ในไฟล์ จากนั้นโปรแกรมติดตั้งจะอ่านข้อมูลจากไฟล์นี้ให้เองโดยอัตโนมัติ

การติดตั้ง SQL Server 2000
โปรแกรม SQL Server เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ใช้เก็บขอมูลภายในองค์กรต่างๆ ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไป ตัวโปรแกรมเอง มี 2 ชุดคือ SQL Server Personal และ SQL Server Enterprise ซึ่ง แตกต่างกันตรงที่ รุ่น SQL Server Personal ใช้ลงที่เครื่อง Client เช่น Microsoft Windows 98 และ Microsoft Windows ME ส่วน SQL Server Enterprise ใช้ลงกับระบบปฏิบัติการ ที่เป็น Server เท่านั้นเช่น Microsoft Windows 2000 Server การติดตั้งโปรแกรมมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้นำแผ่น ซีดี โปรแกรม SQL Server ใส่ที่ Drive CD ROM แล้วรอสักครู่โปรแกรมจะแสดงหน้าจอการติดตั้งขึ้นมาให้ผู้ใช้เลือกการติดตั้ง (โปรแกรม SQL Server นั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของผู้ใช้งานเองว่าจะใช้ SQL Server Personal สำหรับ Microsoft Windows 98 และ ME ถ้า SQL Server Enterprise สำหรับ Microsoft Windows 2000 Server ขั้นตอนการติดตั้งจะคล้ายๆ กัน)

2. ให้เลือก SQL Server 2000 Components



3. เลือกหัวข้อ install Database Server

4. โปรแกรมจะเริ่มสอบถามรายละเอียดที่จำเป็นในการติดตั้งโดยจะมีเมนูสอบถามเป็น ขั้นตอนจากรูปข้างล่างจะสอบถามที่ทำการติดตั้งโดยบังคับที่ เครื่องที่ทำการ RUN โปรแกรมนี้ แล้ว คลิก Next>


5. ขั้นต่อไปให้เลือกสร้าง Database ใหม่หรือ Create a new instance of SQL Server, or install Client Tools แล้ว คลิก Next>


6. ให้ระบุชื่อเครื่องและชื่อบริษัท แล้ว คลิก Next>

7. โปรแกรมจะแจ้งรายละเอียดการใช้งานให้ผู้ใช้ทราย แล้วเลือกหัวข้อ Yes.



8. เลือกหัวข้อ Server and Client Tools แล้ว คลิก Next>

9. เลือกหัวข้อ Default แล้ว คลิก Next> c


หลังจากสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้วให้ทำการ Restore ฐานข้อมูลโดยการ คลิกขวาที่ ฐานข้อมูล Research ที่ได้สร้างไว้ข้างต้น เลือก All Tasks / Restore Database


จะปรากฏหน้าต่างให้ทำการ Restore ข้อมูล

ที่ประเภทการ Restore ให้เลือก From Device แล้วเลือก Select Device จะปรากฏหน้าต่างให้เลือก Device จะปรากฏหน้าต่างให้เลือก Device


ที่ Restore from ให้เลือก Disk แล้วเลือก Add จะปรากฏหน้าต่างให้ไฟล์ Backup ของฐานข้อมูล

เลือก เพื่อเลือกไฟล์ RANsys_Database ที่ได้เตรียมไว้ใน CD-ROM RANsys หรือ Download ได้ที่ http://Ransys.swu.ac.th หลัง จากเลือกไฟล์แล้วให้เลือก OK เพื่อกลับไปที่หน้า Choose Restore Device แล้วเลือก OK เพื่อกลับไปหน้า Restore Database จะปรากฏหน้าต่างแสดงความก้าวหน้าในการ Restore ฐานข้อมูล


หลังจาก Restore เรียบร้อยจะปรากฏหน้าต่างแสดงว่าทำการ Restore เรียบร้อยแล้ว

หลังจากนั้นให้สร้าง Login Name ชื่อ Research เพื่อทำการ Login เข้าสู่ระบบ โดยการ ไปที่โฟลเดอร์ Security / Login คลิกขวา แล้ว New Login จะปรากฏหน้าต่างให้กำหนด New Login

  • - General ที่ Name ให้ระบุเป็น Research เลือก SQL Server Authentication ไม่ต้องระบุ Password ที่ Database เลือก Research


  • - Server Role ให้เลือก System Administrators

  • - Database Access ให้เลือก System Administrators ให้เลือกที่ฐานข้อมูล Research และเลือก db_owner

การจัดการเซอร์วิส



จากการที่ SQL Server ทำงานภายใต้การควบคุมของเซอร์วิสต่าง ๆ โดยเฉพาะเซอร์วิสหลัก คือ MSSSQL Server ดังนั้นการควบคุมและดูแลการทำงานของเซอร์วิสจึงมีความสำคัญต่อการใช้งาน SQL Server เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังรวมถึงการที่จะต้องดูแลเซอร์วิสอื่น ๆ ให้สามารถทำงานเพื่อรองรับการใช้งานบางประเภทได้ด้วย เช่น การทำงานแบบ Job หรือ การแจ้งเตือน (Alert) จะต้องอาศัย SQL Server Agent เป็นต้น การจัดการเซอร์วิสในลักษณะต่าง ๆ เช่น Start, Stop หรือ Pause รวมทั้งการกำหนดรายละเอียดในการสตาร์ทเซอร์วิสแบบอัตโนมัติเมื่อมีการเปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้งาน รวมทั้งการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับ SQL Server ได้เป็นอย่างดี

ความหมายของ Start, Stop และ Pause Service
Start Service หมายถึง การสั่งให้เซอร์วิสนั้นเริ่มทำงาน โดยถ้ามีการสตาร์ทเซอร์วิสใดแล้ว เซอร์วิสนั้นจะมีสถานะเป็น Running
Pause Service หมายถึง การหยุดเซอร์วิสชั่วคราว เช่น การ Pause เซอร์วิสของ MSSQL Server จะใช้เพื่อไม่ให้มีการติดต่อกันก่อนที่สั่ง Pause นั้นก็ยังทำงานกันตามปกติ และเมื่อต้องการกลับมาใช้งานต่อไปก็ให้ยกเลิกการ Pause โดยสั่งให้ Continue
Stop Service หมายถึง การปิดเซอร์วิส มีผลทำให้การทำงานที่กำลังใช้เซอร์วิสนั้นหยุดทันที และไม่สามารถทำงานใด ๆ ที่ต้องใช้เซอร์วิสนั้นได้

วิธีจัดการและกำหนดค่าให้กับเซอร์วิส
เราสามารถ Start, Stop และ Pause เซอร์วิสได้ 4 วิธี คือ

  • SQL Server Service Manager
  • Windows 9x
  • SQL Server Enterprise Manager
  • Command Line

วิธีที่ 1 จัดการเซอร์วิสโดยใช้ SQL Server Service Manager
1. วิธีนี้สามารถทำได้ทั้งการ Start, Stop และ Pause เซอร์วิส เรียกใช้คำสั่งนี้ได้ 2 แบบ คือ คลิกปุ่มที่ Start > Programs > Microsoft SQL Server 7.0. Service Manager หรือดับเบิ้ลคลิกทีปุ่ม SQL Server Servics Manager บน Tack Bar ที่อยู่ด้านล่างของจอภาพ ให้ระบุชื่อเครื่อง SQL Server ในช่อง Server และเซอร์วิสในช่อง Services เมื่อใส่ค่าแล้วเครื่องจะแสดงสถานะของเซอร์วิสนั้น ๆ ให้เห็นที่หน้าจอ เช่น จากรูป SQL Server Service Manager จะแสดงว่าขณะนี้เซอร์วิส MSSQL Server กำลังทำงานอยู่ โดยแสดงสถานะเป็น Running

2. เราสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานของ Service Manager โดยกำหนดออปชั่นเสียใหม่ด้วยการคลิกลูกศรสีเขียวที่มุมบนซ้าย แล้วเลือก Options สำหรับแต่ละออปชั่นมีความหมาย ดังนี้

  • Polling Interval (Second) หน้าจอที่แสดงสถานะของ Service นี้ จะถูกแสดงใหม่ (Refresh) ทุก ๆ 5 วินาที
  • Verify Service Control Action เลือกหรือไม่เลือกเพื่อให้แสดงข้อความเตือนทุกครั้งที่มีการ Start, Stop และ Pause เซอร์วิส

วิธีที่ 2 จัดการเซอร์วิสโดยใช้ WinDows 9x
ในการจัดการเซอร์วิสโดยวิธีนี้ ทำให้กำหนดรายละเอียดของเซอร์วิสได้มากกว่าวิธีที่ 1 เช่น กำหนดออปชั่น Startup Type และกำหนดชื่อยูสเซอร์ที่ทำหน้าที่สตาร์ทเซอร์วิส
การ Start, Stop และ Pause เซอร์วิส
1. คลิกปุ่ม Start > Settings > Control Panel แล้วดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Services
2. ที่จอภาพ Services ให้เลือกเซอร์วิสที่ต้องการโดยคลิกที่สโครลบาร์เพื่อเลื่อนหาชื่อเซอร์วิส นั้น ซึ่งเซอร์วิสที่จำเป็นต้องสั่งสตาร์ท ได้แก่ MSSQL Servel และโดยทั่วไปมักจะทำให้ทำการสตาร์ท SQL Server Agent ไปทุกครั้งที่มีการใช้งาน SQL Server

ส่วนปุ่มคำสั่งด้านซ้ายของหน้าจอนั้น ให้คลิกปุ่มที่ต้องการ เช่น ปุ่ม Start ใช้เมื่อต้องการให้เซอร์วิสนั้นเริ่มทำงาน ปุ่ม Stop เมื่อต้องการให้เซอร์วิสนั้นหยุดทำงาน และปุ่ม Pause เมื่อต้องการให้เซอร์วิสนั้นหยุดทำงานชั่วคราว
วิธีที่ 3 การจัดการเซอร์วิสโดย SQL Server Enterprise Manager
ในขั้นตอนนี้สามารถ Start, Stop และ Pause เซอร์วิส โดยต้องเลือกประเภทของเซอร์วิสให้ได้ก่อน
1. เปิด Enterprise Manager แล้วคลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์ไว้ในที่นี้ คือ
2. เลือกคำสั่งจากเมนูลัดที่แสดงขึ้นมาเป็นคำสั่งที่จัดการกับเซอร์วิสที่ชื่อ MSSQL Server

  • Stop เพื่อสั่งหยุดเซอร์วิสที่กำลังทำงานอยู่ ออปชั่นนี้จะเลือกได้ถ้าเซอร์วิสนั้นสตาร์ทอยู่แล้ว
  • Pause เพื่อสั่งหยุดเซอร์วิสนั้นชั่วคราว ออปชั่นนี้จะเลือกได้ถ้าเซอร์วิสสตาร์ทอยู่เท่านั้น
  • Start เพื่อสตาร์ทเซอร์วิส ออปชั่นนี้จะเลือกได้ถ้าเซอร์วิสนั้นยังไม่สตาร์ท
  • Connect คำสั่งนี้ หมายถึง ติดต่อเพื่อใช้งาน SQL Server ซึ่งมักจะใช้ในในกรณีที่การเชื่อมต่อกับ SQL Server เกิดหลุดไปโดยที่เซอร์วิสยังคงทำงานปกติ

วิธีที่ 4 การจัดการเซอร์วิสด้วย Command Line
วิธีนี้สามารถ Start, Stop และ Pause เซอร์วิส โดยการป้อนคำสั่งเป็นแบบ Command Line ใน MS-DOS Prompt หรือเขียนไว้ในแบทช์ไฟล์ก็ได้

Net {Start, Stop, Pause} {Service}

ตัวอย่าง การจัดการเซอร์วิส
Net Start MSSQL Server

สิ่งที่ควรรู้ใน SQL Server



หลังจากติดตั้งโปรแกรม SQL Server แล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การทำอย่างไรจึงจะใช้งาน SQL Server ได้และจะทำได้โดยวิธีใด ในส่วนนี้ SQL Server ได้เตรียมทางเลือกที่ง่ายและสะดวกต่อผู้ใช้งาน โดยมี SQL Server Enterprise Manager แสดงการโต้ตอบหรือรับคำสั่งกับผู้ใช้ ซึ่งแสดงเป็นเมนูลัด หรืออาจใช้ทูลชื่อ SQL Server Query Analyzer เพื่อรับคำสั่งที่เขียนเป็น Transact-SQL แบบที่ละคำสั่งหรือเป็นชุดคำสั่งที่เรียกว่า แบทช์ นอกจากนี้ยังมีวิซาร์ดที่อยู่ใน Enterprise Manager เพื่อช่วยให้ขั้นตอนการทำงานบางอย่างง่ายขึ้นด้วย เช่น การสร้างดาต้าเบส การสร้างเทเบิล เป็นต้น

แนะนำ Enterprise Manager


Enterprise Manager ทูลนี้สามารถติดตั้งได้ทั้งบนเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์เพื่อ ช่วยควบคุมการทำงานของ SQL Server ได้แก่ การสร้าง ลบ หรือแก้ไขดาต้าเบส การสร้าง ลบ แก้ไขชื่อยูสเซอร์ และการกำหนดสิทธิ์ในการใช้งาน การแบ็คอัพและรีสโตร์ (Backup และ Restore) การตรวจสอบการทำงานของเครื่อง เป็นต้น
การเรียกโปรแกรม Enterprise Manager ทำได้โดย
1. คลิกที่ปุ่ม Start > Programs > Microsoft SQL Server 7.0 > Enterprise Manager เมื่อเรียกโปรแกรม Enterprise Manager
2. คลิกเครื่องหมาย + ที่ SQL Server Group เพื่อเปิดดูโฟล์เดอร์นี้ว่ามีเซิร์ฟเวอร์ใดบ้างที่รีจิสเตอร์ไว้

การรีจิสเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Register Server)
ในการใช้ Enterprise Manager เพื่อติดต่อกับดาต้าเบสของ SQL Server จะต้องรีจิสเตอร์เซิร์ฟเวอร์เสียก่อน เพื่อให้ Enterprise Manager รู้จักกับตัวเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง ในกรณีที่ต้องการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นที่ติดตั้ง SQL Server ที่อยู่ในเน็ตเวิร์กเดียวกัน ก็สามารถจะรีจิสเตอร์ชื่อของเซิร์ฟเวอร์นั้นเพิ่มไว้ใน Enterprise Manager ได้ ซึ่งการรีจิสเตอร์ชื่อเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นเข้ามานั้นจะทำให้เราสามารถเข้าไป ดูหรือทำงานบน SQL Server ตัวนั้น ๆ ได้
จากหน้าจอ SQL Server Enterprise Manager ให้คลิกเครื่องหมาย + ที่ Microsoft SQL Servers จากนั้นคลิกเครื่องหมาย + ที่ SQL Server Group อีกครั้ง ถ้าปรากฏเป็น No Items แสดงว่ายังไม่มีการรีจิสเตอร์มาก่อน ก็ให้รีจิสเตอร์ใหม่ หรือถ้าต้องการรีจิสเตอร์ไปยัง SQL Server ตัวอื่นก็ทำได้โดยวิธีเดียวกัน และถ้าชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์ไว้ยังคงอยู่แสดงว่ายังคงติดต่อกับ เซิร์ฟเวอร์นั้นได้
1. ที่หน้าจอ Enterprise Manager ให้คลิกขวาที่เมาส์ที่ข้อความ SQL Server Group แล้วเลือก New SQL Server Registration จากเมนูลัดที่แสดงขึ้นมา
2. จะปรากฏหน้าจอ Register SQL Server Wizard ให้คลิก Next

3. ที่หน้าจอ Select a SQL Server ให้ระบุชื่อของเซิร์ฟเวอร์ที่ช่อง Available Servers ในที่นี้ให้ระบุชื่อของเครื่อง แล้วคลิกปุ่ม Add เพื่อเพิ่มชื่อนี้ลงในกรอบด้านขวาของ Add Servers จากนั้นคลิก Next

  • ที่หน้าจอ Select an Authentication Mode ให้เลือกวิธีการรักษาความปลอดภัยในการเชื่อมต่อจาก Enterprise Manager กับ SQL Server

  • The Windows NT Account ….. ให้ใช้รหัสล็อคอินของ Windows NT เพื่อผ่านระบบการตรวจเช็คความปลอดภัยในการเข้าใช้ SQL Server
  • The SQL Server Login ….. ให้ใช้รหัสล็อคอินของ SQL Server ในการเข้าใช้งาน SQL Server ให้คลิกเลือกออปชั่นที่เป็น The SQL Server Login แล้วคลิก Next

5. ที่หน้าจอ Select Connection Option ให้เติมชื่อที่ช่อง Login Name เป็น sa และ Password ไม่ต้องระบุค่า (ในกรณีที่เปลี่ยน Password ของ sa แล้วให้ระบุ Password ด้วย) จากนั้นให้คลิก Next แต่ถ้าเลือก Prompt for the SQL Server เวลาเปิดโฟลเดอร์ของเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์ไว้จะแสดงหน้าจอถาม Login Name และ Password ทุกครั้ง (วิธีนี้จะทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นหรืออาจกำหนดให้ใส่เฉพาะรหัสผ่านโดยที่ หน้าจอจะขึ้น Login Name เดิมให้เองก็ได้

6. ที่หน้าจอ Select SQL Server Group

  • Add the SQL Server ..... เพื่อเพิ่มชื่อไปยังกรุ๊ปชื่อ SQL Server Group ที่ SQL Server มีมาให้
  • Create a New Top – Level ..... เพื่อสร้างกรุ๊ปขึ้นมาใหม่ แล้วเพิ่มชื่อกรุ๊ปที่ระบุไว้

ให้เลือกตามดีฟอลต์ คือ Add the SQL Server ..... คลิก Next

7. ต่อไปจะปรากฏหน้าจอของ Completing the Register SQL Server Wizard เพื่อทำการรีจิสเตอร์ชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่เลือกไว้ด้วยการคลิก Finish

  • จะปรากฏหน้าจอ Register SQL Server Messages ซึ่งถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นการรีจิสเตอร์เซิร์ฟเวอร์ให้คลิก Close

9. เมื่อทำการรีจิสเตอร์เซิร์ฟเวอร์เรียบร้อยแล้ว จะปรากฏหน้าจอ SQL Server Enterprise Manager อีกครั้ง สิ่งที่ควรสังเกตก็คือ ถ้าสามารถเข้าถึง SQL Server ได้จะปรากฏเครื่องหมายลูกศรสีเขียวที่ไอคอนของเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์ไว้ และสามารถใช้งานได้ตลอดจนกว่าจะลบชื่อที่รีจิสเตอร์ไว้ออกไป

การแก้ไขพร็อพเพอร์ตี้ของเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์

การแก้ไขพร็อพเพอร์ตี้ของเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์มักจะทำเพื่อจะเปลี่ยนแป ลงออปชั่นหรือเปลี่ยนชื่อรหัสล็อคอิน รวมทั้งให้กำหนดให้มีการถามเฉพาะรหัสผ่านทุกครั้งเมื่อมีการเรียก Enterprise Manager ขั้นตอนการแก้ไข มีดังนี้
1. ให้คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์ จากนั้นคลิก Edit SQL Server Registration Properties
2. ที่หน้าจอ Registered SQL Server Properties ให้สังเกตออปชั่นในหน้าจอ โดยปกติมักจะยึดตามออปชั่นที่ดีฟอลต์มาให้ เว้นแต่ว่าต้องการให้เปลี่ยนแปลงไปจากที่กำหนดไว้ เช่น คลิก P ที่ Always Prompt for Login Name And Password แล้วคลิก P ที่ Show System Databases and Objects เพื่อลบ P ออกไป เสร็จแล้วให้คลิก OK ส่วนความหมายของแต่ละตัวเลือก มีดังนี้

  • Connection ในที่นี้ให้เลือกติดต่อกับ Server โดยเลือกติดต่อผ่าน Windows NT หรือติดต่อแบบล็อคอินเข้าระบบ
    • Use SQL Server Authentication วิธีนี้จะใช้รหัสล็อคอินที่สร้างไว้ใน SQL Server
    • Use Windows NT Authentication จะใช้รหัสล็อคอินของ Windows NT เพื่อล็อคอินเข้าไปใช้ใน SQL Server
    • Always Prompt for Login Name and Password คลิกเลือกออปชั่นนี้เมื่อต้องการให้ยูสเซอร์ใส่รหัสผ่านทุกครั้งที่เรียก Enterprise Manager ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น
      • Show System Databases and Objects ให้แสดงดาต้าเบสและออปเจ็กต์ของระบบทั้งหมดบนหน้าจอ เช่น ชื่อดาต้าเบสของระบบ ได้แก่ Master, Msdb, Model, Tempdb หรือเทเบิลของระบบ (System Table)
      • Server Group คือ ชื่อกรุ๊ปที่รีจิสเตอร์ไว้
      • Display SQL Server State in Console ให้แสดงสถานการณ์ทำงานของ SQL Server บนหน้าจอ

การยกเลิกเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์ไว้
1. เลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการคลิกเมาส์ปุ่มขวาตรงเซิร์ฟเวอร์จะปรากฏเมนูคำสั่ง
2. ให้เลือก Delete SQL Server Registration ก็จะปรากฏกรอบข้อความถามย้ำว่า “คุณแน่ใจหรือ ? ที่จะลบเซิร์ฟเวอร์จากคอนโซล” ถ้าพร้อมคลิกปุ่ม Yes เซิร์ฟเวอร์เครื่องนี้จะหายไปจากคอนโซล

การตรวจสอบเมื่อรีจิสเตอร์แล้วยังใช้งานไม่ได้
ในกรณีที่ยังใช้ SQL Server ไม่ได้หลังจากที่รีจิสเตอร์หรือใช้ Enterprise Manager ครั้ง ต่อ ๆ ไปไม่ได้ ซึ่งสังเกตได้ว่าไม่ปรากฏเครื่องหมายลูกศรสีเขียวที่ชื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่จะเห็นเป็นจุดสีแดงแทน หรือมีข้อความว่า “Connection failed check SQL Server Registration Properties”
มีวิธีตรวจสอบและแก้ไขคร่าว ๆ ดังนี้
1. ตรวจสอบ SQL Server Service โดยดูที่เซอร์วิส MSSQL Server ว่าทำงานอยู่หรือไม่ ถ้ายังไม่ทำงานให้สั่ง Start
2. ที่หน้าจอของ Enterprise Manager ตรงตำแหน่งของชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่รีจิสเตอร์ไว้ ให้คลิกเมาส์ปุ่มขวาเพื่อเลือก Connect ใหม่
3. ใช้คำสั่ง PING Servername ที่ MS-DOS Prompt สำหรับเครื่องที่ติดต่อผ่านมาจากเน็ตเวิร์ก เพื่อทดสอบว่าเห็นเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ ถ้ายังไม่สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ได้ แสดงว่าเป็นปัญหาด้านเน็ตเวิร์ก

การสร้าง SQL Server Group
การสร้าง SQL Server Group เป็นการจัดแบ่งเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มเข้าด้วยกันในกรณีที่มีเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมาก การจัดเป็นกลุ่มจะช่วยให้จัดการและดูแลได้ง่ายและสะดวกขึ้น
1. ให้คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ SQL Server Group แล้วเลือก New SQL Server Group
2. ที่หน้าจอ Server Groups ใส่ชื่อกรุ๊ป แล้วคลิก OK

  • Name คือ ชื่อของกรุ๊ปที่จะสร้างใหม่
  • Top Level Group กำหนดกรุ๊ปใหม่นี้ให้อยู่ในระดับเดียวกับ SQL Server Group ที่มีมาให้ใน SQL Server
  • Sub – Group of กำหนดให้กรุ๊ปใหม่นี้อยู่ใต้กรุ๊ปประเภท Top Level Group อีกทีหนึ่ง โดยต้องระบุ Top Level Group ที่จะให้กรุ๊ปใหม่ไปอยู่ใต้เสียก่อน


3. เมื่อสร้างกรุ๊ปแล้ว ให้สังเกตที่ Enterprise Manager จะเห็นชื่อกรุ๊ปที่สร้างใหม่ และเมื่อเปิดโฟลเดอร์ของกรุ๊ปนั้น จะเห็นคำว่า (No Items) ซึ่งแสดงว่าภายใต้กรุ๊ปนี้ยังไม่มีเซิร์ฟเวอร์ใดรีจิสเตอร์นั่นเอง

หลักการใช้งาน Enterprise Manager
ผู้ใช้ควรพิจารณาหลักเกณฑ์การใช้ Enterprise Manager ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงาน โดยเฉพาะบางงานสามารถคลิกเลือกได้จากหลายตำแหน่งของทูลบาร์ และในที่นี้ขอแนะนำพอสังเขป ดังนี้

  • การเปิดโฟลเดอร์ ซึ่งโฟลเดอร์ที่จะเปิดได้และมีส่วนย่อยอยู่ภายใต้นั้น จะเห็นเครื่องหมาย + ที่หน้าโฟลเดอร์นั้น ถ้านำเมาส์ไปคลิกที่เครื่องหมาย + จะเป็นการเปิดหรือขยายโฟลเดอร์เพื่อให้เห็นสิ่งที่อยู่ภายใน เช่น
  • เมื่อคลิกเครื่องหมาย + ที่ชื่อของ SQL Server ที่รีจิสเตอร์ไว้ จะแสดงโฟลเดอร์ย่อยที่อยู่ภายใต้ ได้แก่ Databases, Data Transformation Services, Management, Security และ Support Services
  • และ ถ้าคลิกเครื่องหมาย + ที่อยู่หน้าโฟลเดอร์ใดจะหมายถึง การเลือกเข้าไปดูรายละเอียดย่อยภายใน เช่น ต้องการดูส่วนย่อยของ Databases ให้คลิกที่เครื่องหมาย + หน้า Databases รายชื่อ Databases ทั้งหมดจะถูกแสดงออกมา เป็นต้น
    • ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรายการบางอย่าง หน้าจอของ Enterprise Manager อาจจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ทันที ถ้าต้องการเห็นผลการเปลี่ยนแปลงทำได้โดยการ Refresh ที่รายการนั้น เช่น ถ้ามีการสร้างเทเบิลเพิ่มโดยใช้ Enterprise Manager แล้วปรากฏว่าชื่อเทเบิลใหม่ยังไม่ปรากฏบนจอ ให้คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่โฟลเดอร์ Table แล้วเลือก Refresh
      • เมนูเดียวกันแต่คลิกได้จากหลายที่ เช่น
        • New Database เป็นการสร้างดาต้าเบสใหม่ ซึ่งทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่โฟลเดอร์ Database หรือที่โฟลเดอร์ของชื่อดาต้าเบสชื่อใดก็ได้
        • Backup Database เป็นการแบ็คอัพดาต้าเบส จากรูปทำได้ 2 วิธีคือ คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่โฟลเดอร์ Database เลือก All Tasks > Backup Database หรือคลิกที่เมนู Tools > Backup Database

การแก้ไข Password ของ sa
โดยปกติเมื่อมีการติดตั้งโปรแกรม SQL Server เสร็จแล้ว SQL Server จะสร้างรหัสล็อคอินที่ชื่อ sa โดยที่ไม่มีรหัสผ่านมาให้ด้วย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบ จึงควรกำหนดรหัสผ่านของ sa ก่อนที่ใช้งานต่อไป แต่ที่สำคัญคือ เมื่อกำหนดแล้วจะต้องจำรหัสผ่านให้ดี การกำหนดนี้จะใช้วิธีเดียวกันกับการแก้ไข โดยทำดังนี้
1. ที่หน้าจอ SQL Server Enterprise Manager ให้เปิดโฟลเดอร์ Security แล้วนำเมาส์ไปคลิกที่โฟลเดอร์ Logins รอสักครู่รหัสล็อคอินทั้งหมดจะมาแสดงในวินโดวส์ด้านขวา
2. ที่วินโดว์ด้านขวาให้คลิกเมาส์ปุ่มขวาที่ sa เลือก Properties
3. จะปรากฏหน้าจอ SQL Server Logins Properties – sa ให้ระบุรหัสผ่านที่ต้องการลงในช่อง Password

Query Analyzer
Query Analyzer เป็นหน้าจอที่ใช้ป้อนและเอ็กซีคิวต์คำสั่ง Transact-SQL รวมทั้งแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานตามคำสั่งนั้นบนวินโดว์ การเรียกโปรแกรมนี้ทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1
ที่ Enterprise Manager คลิกที่ Tools > SQL Server Query Analyzer จะสามารถเข้าสู่หน้าจอ Query Analyzer เลย โดยไม่ต้องล็อคอินอีก ทั้งนี้ระบบถือว่าได้ล็อคอินครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อเปิดใช้ Enterprise Manager

วิธีที่ 2
1. คลิกที่ปุ่ม Start เลือก Programs > Microsoft SQL Server 7.0 > Query Analyze
2. กำหนดรายละเอียดในหน้าจอ Connect to SQL Server

  • SQL Server ให้ระบุชื่อของเซิร์ฟเวอร์ที่จะทำงานด้วย
  • Start SQL Server If Stopped ให้สตาร์ทเซอร์วิส MSSQL Server ถ้าเซอร์วิสยังไม่สตาร์ท
  • Connection Information ในที่นี้ให้คลิกที่ Use SQL Authentication แล้วเติม Login Name และ Password ในที่นี้เมื่อเริ่มต้นใช้งานจะมีเพียงยูสเซอร์ชื่อ sa เท่านั้น

3. จะแสดงหน้าจอ SQL Server Query Analyzer ดังนี้

องค์ประกอบต่าง ๆ ใน SQL Server Query Analyzer ที่สำคัญมีดังนี้

  • Query Pane คือ พื้นที่สำหรับป้อนคำสั่ง Transact – SQL และสั่งเอ็กซีคิวต์ได้โดยคลิกที่ไอคอน หรือปุ่มกด F5 หรือ Ctrl+E
  • Result Pane คือ ส่วนที่แสดงผลลัพธ์ ซึ่งลักษณะการแสดงผลลัพธ์ทำได้ 2 แบบคือ แบบ Text หรือแสดงเป็นผลลัพธ์แบบ Grid (แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบตาราง) โดยคลิกปุ่มสลับการแสดงผลลัพธ์ที่ปุ่ม Result Type
  • Messages แท็ปนี้ใช้แสดงข้อความต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ขณะที่สั่งเอ็กซีคิวต์คำสั่งต่าง ๆ ในบริเวณ Result Pane และถ้าต้องการกลับไปแสดลผลลัพธ์ที่ได้จากคำสั่งให้คลิกที่แท็ป Result Grid
  • Choose Database สำหรับเลือกดาต้าเบสที่ต้องการทำงานด้วย โดยจะแสดงเฉพาะดาต้าเบสที่ผู้ล็อคอินมีสิทธิ์ใช้ได้เท่านั้น
  • New Query เพื่อเพิ่มหน้าจอใหม่สำหรับการป้อนคำสั่ง มักใช้ขณะที่ต้องการทำงานหลาย ๆ คำสั่ง แต่ยังไม่ต้องการเลิกงานเดิม เช่น ที่หน้าจอแรกใช้คำสั่ง

Select * From Titles และหน้าจอใหม่ต้องการเรียกคำสั่ง sp_coloumns titles เพื่อดูโครงสร้างของเทเบิล การยกเลิกหน้าจอที่เปิดใหม่ให้คลิกที่ปุ่ม Close ที่มุมบนขวาของหน้าจอนั้น

  • Load เป็นการโหลดคำสั่งที่เก็บไว้ในไฟล์มาทำงานใน Query Analyzer
  • Save เพื่อเก็บคำสั่งที่ป้อนใน Query Pane ไว้เป็นไฟล์เพื่อนำมาใช้งานครั้งต่อไปได้

การใช้คำสั่ง Transact SQL


ในวินโดว์ของ Query Pane สามารถรับคำสั่งของ Transact – SQL ได้หลายแบบด้วยกัน คือส่งทีละคำสั่ง, เรียกคำสั่งของ Stored Procedure หรือจะส่งเป็นชุดของคำสั่งในลักษณะแบทช์ (Batch) ก็ได้ มีหลักในการใช้ ดังนี้

  • สามารถป้อนคำสั่งที่ยาวหลายบรรทัดได้ โดยต้องไม่ขึ้นบรรทัดใหม่หลังคำที่เป็นเฉพาะ เช่น Select, From
  • คำสั่งภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กให้ค่าเท่ากัน ซึ่งอาจพิมพ์ปนกันภายในคำสั่งเดียวกันก็ได้ เช่น

SELECT *
FROM titles
มีค่าเหมือนกับป้อนคำสั่งแบบ
select *
from titles
หรือจะป้อนอยู่บรรทัดเดียวกันก็ได้ เช่น
SELECT * FROM titles

การเขียนชุดคำสั่ง Batch
Batch หรือแบทช์ คือ ชุดของคำสั่ง Transact – SQL ที่มีมากกว่า 1 คำสั่งและต้องการส่งให้ SQL Server เอ็กซีคิวต์ในคราวเดียวกัน การเขียนเป็นชุดของคำสั่งในลักษณะของแบทช์นี้จำเป็นต้องใช้คำสั่ง GO เพื่อคั่นคำสั่งต่าง ๆ ในตำแหน่งที่จำเป็น ซึ่งมักอยู่หลังคำสั่งต่อไปนี้และอยู่ก่อนที่จะเขียนคำสั่งถัดไป

CREAT DEFAULT, CREATE PROCEDURE, CREATE RULE, CREATE TRIGGER, CREATE TABLE และ CREAT VIES



ตัวอย่าง การใช้ GO ในชุดของคำสั่งแบทช์
CREATE DATABASE
CREATE TABLE
GO
CREATE VIEW
GO

การใช้ Stored Procedure
Stored Procedure เป็นออปเจ็กต์ที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของ Transact-SQL เช่น sp_ helpdb
(ดูชื่อดาต้าเบสทั้งหมด) sp_who (ดูยูสเซอร์ที่เข้ามาใช้ SQL Server) สำหรับ Stored Procedure มีอยู่ 2 ประเภท คือ System Stored Procedure ลักษณะของคำสั่งจะขึ้นต้นด้วย sp_ หรือ xp_ (Extended Procedure) และ Stored Procedure ที่ยูสเซอร์สร้างเอง หลักเกณฑ์ในการเรียกใช้คำสั่ง Stored Procedure

  • ถ้าเป็นคำสั่งเดียวให้เรียกชื่อ Stored Procedure นั้น ๆ ได้เลย เช่น sp_helpdb
  • ถ้าใช้ Stored Procedure เป็นคำสั่งที่ไม่ใช่คำสั่งแรกในแบทช์ต้องใช้ EXEC นำหน้าเสมอ เช่น

USE pubs
EXEC sp_helpdb (sp_helpdb จะแสดงชื่อดาต้าเบสทั้งหมดของ SQL Server)
หรือจะใช้
USE pubs
Go
sp_helpdb (ไม่ต้องใส่ EXEC หน้า sp_helpdb เพราะถือว่าเป็นคนละแบทช์กัน ซึ่งชุดแรกจบด้วย GO)

สคริปต์ (Script)
สคริปต์เป็นกลุ่มคำสั่งมีลักษณะเช่นเดียวกับแบทช์ แต่มีจุดประสงค์เพื่อใช้สร้างและจัดการออปเจ็กต์โดยเฉพาะ คำสั่งของสคริปต์อาจจะเก็บบันทึกเป็นไฟล์เพื่อนำมาใช้เอ็กซีคิวต์เมื่อต้อง การได้ ทั้งนี้เพื่อที่จะนำไปใช้สร้างออปเจ็กต์ประเภทเดียวกันบนเซิร์ฟเวอร์เครื่อง อื่น หรือใช้เพื่อสร้างออปเจ็กต์ใหม่บนเครื่องเดียวกันเมื่ออปเจ็กต์นั้นถูกลบไป ก็ได้
สำหรับออปเจ็กต์ที่สร้างสคริปต์ได้ มีดังนี้

  • Tables
  • User – Defined Data Types
  • Indexes
  • Triggers
  • Views
  • Users, Groups, and Roles
  • Stored Procedures
  • Logins
  • Defaults
  • Rules
  • Table Keys / Declarative Referential Integrity (DRI)
  • Object – Level Permissions
  • Full – Text Indexes

การสร้างสคริปต์
การสร้างสคริปต์จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำเอกสารคู่มือสำหรับระบบเพื่อ ใช้ประกอบว่าเราสร้างออปเจ็กต์ต่าง ๆ ไว้อย่างไร มีการกำหนดคีย์ หรือความสัมพันธ์ระหว่างออปเจ็กต์ใดไว้บ้าง และที่สำคัญมากกว่าไปนั้น คือ สามารถนำสคริปต์นี้ไปรันบน Query Analyzer กี่ครั้งก็ได้ ถ้าออปเจ็กต์นั้นเสียหาย สำหรับ SQL Server มีวิธีการที่จะสร้างสคริปต์จากออปเจ็กต์ที่มีอยู่แล้ว ดังนี้

ตัวอย่าง การสร้างสคริปต์ของเทเบิล Categories ในดาต้าเบส Northwind
1. ให้เปิดโฟลเดอร์ของ Nortwind แล้วนำเมาส์ไปคลิกที่โฟลเดอร์ Tables จะเห็นรายชื่อเทเบิลที่วินโดว์ด้านขวามือ ให้คลิกที่ Categories
2. ที่เมนูบาร์ด้านบน ให้คลิกที่ Tools > Database Scripting

3. จะแสดงหน้าจอ Generate SQL Scripts - ……..\Northwind ให้เลือกตัวเลือกต่าง ๆ แล้วคลิก OK

  • Objects to Script หมายถึง ออปเจ็กต์ที่จะนำมาใช้สร้างสคริปต์ ให้คลิกเมาส์ที่เช็คบ็อกซ์ที่ต้องการ เช่น ถ้าเลือก All Views จะทำให้ชื่อของวิวทั้งหมดของ Northwind ไปปรากฏที่กรอบของ Objects to Be Scripted
  • ถ้าต้องการเลือกเป็นรายออปเจ็กต์ ให้คลิกที่ตัวเลือกภายในกรอบ Objects on Northwind แล้วคลิก Add

4. ที่หน้าจอ Save As ใส่ชื่อไฟล์สำหรับสคริปต์นี้ แล้วคลิกปุ่ม Save จากนั้นก็รอจนกว่าจะสร้างสคริปต์เรียบร้อย

ลองเปิดสคริปต์ที่สร้างไว้ด้วย Notepad ก็ได้ จะเห็นคำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างออปเจ็กต์ที่ได้เลือกไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น